วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจ SMEs


เรียบเรียงโดย ณตชา โตศุกลวรรณ์



การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจ SMEs

สรุปประเด็น


  • ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ต
    1. สนับสนุนการทำงานของพนักงานและฝ่ายขาย
    2. การสื่อสารที่ต้นทุนต่ำ การเกิดขึ้นของจดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (e-mail) ทำให้สามารถ ใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างไร้พรมแอนด้วย
    3. คุณภาพนำไปสู่การพัฒนา ความสามารถในการติดต่อสื่อสารโดยไร้พรมแดนนี้ทำให้ธุรกิจในประเทศสามารถขายสินค้าไปยังประเทศอื่น ๆ ได้ทั่วโลกโดยไม่จำกัดขอบเขตเฉพาะการขายภายในประเทศเท่านั้น
    4. การพัฒนารูปแบบใหม่ของการแข่งขันที่มีอยู่ตลอดเวลา อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางทางการค้าที่ทันสมัย ซึ่งทำให้ผู้ค้ารายย่อยสามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้โดยการสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า หนทางหนึ่งที่อินเตอร์เน็ตสามารถช่วยผู้ค้ารายย่อย ก็คือ ผู้ค้ารายย่อยสามารถเข้าถึงระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ และระบบเครือข่ายที่มีต้นทุนสูงได้โดยตรงอย่างที่ไม่สามารถ กระทำได้ในอดีต



  • สำหรับ SME ที่ยังไม่พร้อมที่จะทำ E-commerce แบบเต็มรูปแบบ ก็สามารถที่จะใช้เวปเพจ ทางอินเตอร์เน็ต เป็นช่องทางในการแสดงสินค้า และเป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจ ได้ติดต่อกลับมา เพื่อเจรจากันภายหลังก็ได้ มีหลายกลุ่มหลายบริษัทที่รับออกแบบเวปเพจ ให้คำปรึกษาทางด้านการทำE-commerce และ ระบบการตลาดทางอินเตอร์เน็ต โดยแต่ละที่ก็มีราคาค่าใช้จ่ายต่างกันไป ตั้งแต่ระดับ หลักร้อยบาท จนถึงระดับ หลักหมื่น หลักแสน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของระบบที่ต้องการ เราสามารถให้ผู้ที่เคยใช้อินเตอร์เน็ต ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ที่รับออกแบบเวปเพจได้ ซึ่งจะพบเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

    อินเตอร์เน็ต (INTERNET) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ซึ่งเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย (SUBNET) หลายเครือข่ายทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงผู้ใช้ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นเครือข่ายนานาชาติ (INTER NETWORKING) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารข้อมูล โดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง โดยที่ผู้ใช้สามารถติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือเครื่องบริการหรือเซิร์ฟเวอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่เก็บและให้บริการข้อมูลต่างๆ การส่งข้อมูลผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละมากๆในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อส่งหรือขอข้อมูลด้วยตัวเอง และยังสามารถสืบค้นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในที่ต่างๆทั่วโลกด้วยตนเองโดยเครือข่ายของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเชื่อต่อด้วยสายส่งข้อมูลทุกรูปแบบ ตั้งแต่สายทองแดง สายเคเบิ้ล เส้นใยแก้วนำแสง ไมโครเวฟ จนไปถึงวงจรสื่อสารดาวเทียม มีความเร็วในการส่งข้อมูลจาก 64000 บิตต่อวินาที (BPS) หรือเรียกสั้นๆว่า 64 KBPS หรือ 64K จนไปถึง 2 ล้านบิตต่อวินาที (MBPS) หรืออาจมากกว่านั้น

    รู้จักกับ WWW (WORLD WIDE WEB) บริการ WWW นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตโด่งดังไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสามารถใช้งานได้ง่าย มีข้อความ ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ทำให้สวยงามและน่าสนใจและเรียนรู้การใช้งานได้ง่ายแม้แต่กับผู้ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน จุดเด่นของ WWW คือการมีการบรรจุเนื้อหาสาระลงไปในเอกสาร ที่เรียกว่า “เวบเพจ” (WEBPAGE) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นๆได้ผ่านทางข้อความหรือภาพ ทำให้ผู้ที่อ่านเว็บเพจสามารถเปิดเว็บอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันขึ้นมาชมได้อย่างง่ายดาย การที่เว็บสามารถเชื่อมโยงกันได้ ทำให้โครงสร้างของการเชื่อมโยงเว็บเพจในอินเตอร์เน็ตเหมือนกับใยแมงมุมที่เชื่อต่อกัน การเชื่อมแบบนี้จึงถูกเรียกว่า WORLD WIDE WEB หรือเครือข่ายใยแมงมุมทั่วโลก นั่นเอง

    เว็บเพจได้ถูกรวบรวมไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์เหล่านี้กระจายอยู่ทั่วโลก เราเรียกคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ว่า เวบเซอร์ฟเวอร์ (WEB SERVER)เมื่อเราต้องการชมเว็บใด เราก็จะสามารถเข้าไปดูเนื้อหาต่างๆที่ผู้จัดทำได้เตรียมไว้ให้เราชม

    ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
    ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตที่เราคุ้นเคยแบ่งได้ 9 กลุ่มดังนี้
    1. หาความรู้ ความบันเทิง ข่าวสาร และสิ่งที่สนใจ เหมือนกับการอ่านหนังสือ นิตยสารและหนังสือพิมพ์ซึ่งมีมากมายกว่าร้านหนังสือหรือห้องสมุดใดๆในโลก และที่สำคัญ ข้อมูลเหล่านี้มักเป็นของฟรีด้วย
    2. ส่งและรับจดหมายอิเลคทรอนิคส์ (ELECTRONICS MAIL:EMAIL) ซึ่งเป็นจดหมายที่ สามารถส่งหาผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนอื่นได้อย่างรวดเร็ว ข้ามโลกในเวลาไม่กี่วินาที
    3. แลกเปลี่ยนไฟล์ (FILE TRANSFER PROTOCOL:FTP) ไม่ว่าจะเป็นไฟล์โปรแกรม ไฟล์ภาพ หรือเกม
    4. ซื้อและขายสินค้าที่ต้องการ (ELECTRONICS COMMERCE:E-COMMERCE) โดยผู้ขายสามารถจัดแสดงภาพสินค้าไว้ในอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ซื้อมาเลือกชมและสั่งสินค้าได้ทันที และผู้ขายยังสามารถรับชำระเงิน ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย
    5. พูดคุยพบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆ (CHAT และ NEWSGROUP) ทั้งเพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่ที่คุณสามารถหาได้ง่ายในอินเตอร์เน็ต
    6. ฟังวิทยุ และโทรทัศน์
    7. โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งอาจมีภาพของคู่สนทนาด้วย
    8. ส่งการ์ดอวยพร และส่งข้อความให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและเพจเจอร์
    9. ค้นหาข้อมูล ซึ่งมีข้อมูลต่างๆมากมายในอินเตอร์เน็ต

    นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีบริการอื่นๆในอินเตอร์เน็ตอีกมากมาย จนแทบจะไม่สามารถบรรยายได้หมดนอกจากนี้บริการรูปแบบใหม่ๆ ยังได้ถูกคิดค้นและถูกสร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอยู่ตลอดเวลา คุณจะสามารถพบกับบริการต่างๆ ได้ด้วยตนเองเมื่อเข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ต

    ลักษณะการใช้งานของอินเตอร์เน็ต

    การจัดหาบริการอินเตอร์เน็ตมาใช้ นับว่าเป็นก้าวแรกของการเข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ต โชคดีที่อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การใช้งานอินเตอร์เน็ตในสถานศึกษาและบริษัท ผู้ที่โชคดีอยู่ในสถานศึกษาหรือองค์การที่มีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรี สามารถใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือทำตามขั้นตอนขององค์กรนั้นตามที่กำหนดไว้ การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน จำเป็นต้องมีอุกรณ์และซอฟต์แวร์เองหลายประการ แต่ก่อนอื่นควรจะพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) เสียก่อนว่ารายใดดีที่สุด

    สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตจาก ISP ได้ 2 วิธีคือ
    1. ซื้อชุดทดลองใช้อินเตอร์เน็ตแบบจำกัดชั่วโมง หรือ
    2. สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน

    การจัดเตรียมอุปกรณ์ (ฮาร์ดแวร์) ขั้นพื้นฐาน
    1. สายโทรศัพท์ 1 หมายเลข
    2. เครื่องคอมพิวเตอร์ และ โมเด็ม

    ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ต คุณและบริษัทของคุณจะได้รับประโยชน์จากการใช้อินเตอร์เน็ตในฐานะโทรศัพท์ที่มีความซับซ้อมที่สุดในโลกได้อย่างไรนั้นมีตัวอย่างให้เห็นดังนี้
    1.สนับสนุนการทำงานของพนักงานและฝ่ายขาย เมื่อมีการใช้งานอย่างเหมาะสม อินเตอร์เน็ตสามารถช่วยในการกระจายการส่งเสริมการขาย และทำให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการขายลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถให้บริการกับตัวแทนจำหน่ายได้ดีขึ้น เช่นการเข้าถึงข้อมูลสินค้าคงเหลือ ราคา ข้อมูลการสั่งสินค้า ฯลฯ
    2. การสื่อสารที่ต้นทุนต่ำ การเกิดขึ้นของจดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (e-mail) ทำให้สามารถ ใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างไร้พรมแอนด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าและเป็นทางเลือกที่มีโอกาสผิดพลาดน้อยกว่าการส่งจดหมายโดยตรง จดหมายอิเลคทรอนิคส์สามารถรองรับวัตถุประสงค์ในการติดต่อธุรกิจทั้งกับลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ เนื่องจากสามารถยืนยันคำสั่งซื้อขายได้ทันทีและลูกค้าสามารถลงทะเบียนกับบริษัท เพื่อขอรับจดหมายอิเลคทรอนิคส์ สำหรับการแนะนำสินค้าที่มีอยู่และสินค้าใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมที่ได้หยุดใช้บริการไปแล้วให้กลับมาใช้สินค้าใหม่อีกครั้ง
    3. คุณภาพนำไปสู่การพัฒนา ความสามารถในการติดต่อสื่อสารโดยไร้พรมแดนนี้ทำให้ธุรกิจในประเทศสามารถขายสินค้าไปยังประเทศอื่น ๆ ได้ทั่วโลกโดยไม่จำกัดขอบเขตเฉพาะการขายภายในประเทศเท่านั้น ยังสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้าทั่วทุกมุมโลกได้โดยตรงและขายสินค้า ระหว่างธุรกิจที่อยู่ไกลกันออกไปได้ นอกจากนี้ธุรกิจที่ขายสินค้าพิเศษเฉพาะกลุ่มยังสามารถหาลูกค้าหรือผู้สนใจได้เพิ่มขึ้น
    4. การพัฒนารูปแบบใหม่ของการแข่งขันที่มีอยู่ตลอดเวลา อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางทางการค้าที่ทันสมัย ซึ่งทำให้ผู้ค้ารายย่อยสามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้โดยการสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า หนทางหนึ่งที่อินเตอร์เน็ตสามารถช่วยผู้ค้ารายย่อย ก็คือ ผู้ค้ารายย่อยสามารถเข้าถึงระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ และระบบเครือข่ายที่มีต้นทุนสูงได้โดยตรงอย่างที่ไม่สามารถ กระทำได้ในอดีต

    การใช้อินเตอร์เน็ตในธุรกิจ SMEs

    ในยุคของอินเตอร์เน็ต ความเร็วกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดเป้าหมายสำคัญข้อแรกในกระบวนการวางแผนธุรกิจคือ แผนงานในการสร้างความเร็วให้ระบบ โดยแผนงานดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้จะต้องวางกรอบการทำงานเพื่อตอบสนองคำถามพื้นฐานต่อไปนี้
    1. คุณมีวิธีการที่จะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดให้รวดเร็วได้อย่างไร?
    2. คู่แข่งของคุณมีวิธีการที่จะนำสินค้าของเขาเข้าสู่ตลาดให้รวดเร็วได้อย่างไร?
    3. คุณสามารถพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสินค้าที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็วมากน้อยแค่ไหน?
    4. อินเตอร์เน็ตสามารถเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมของคุณได้รวดเร็วแค่ไหน?

    เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ควรใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนตเพื่อเป็นช่องทางทางการตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจการส่งออก โดยที่จะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค สินค้าและการบริการ การทำธุรกิจบนเครือข่ายอินเตอร์เนตนั้นสามารถทำการค้าได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพราะหน้าร้านทางอินเตอร์เน็ต จะเปิดอยู่ตลอดเวลาแม้ในขณะที่เรานอนหลับในตอนกลางคืน การพัฒนาเวบไซด์ เพื่อขายสินค้าบนอินเตอร์เนตจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจสินค้าเข้ามาดูรายละเอียดของสินค้าและราคาผ่านทางหน้าเวบไซด์ได้ รวมถึงสามารถสั่งซื้อสินค้าได้โดยผ่านระบบชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต หรือโอนเงินผ่านทางธนาคาร ธนาณัติ ฯลฯก็ได้

    ในการพัฒนาเวบไซด์ร้านค้า (Storefront website) ที่ดีมีขั้นตอนดังนี้
    1. วางแผนเวบไซด์ (Site Planning)
    2. ศึกษาสินค้าจุดอ่อนจุดแข็งรวมทั้งคู่แข่งทางการตลาด
    3. ศึกษาระบบส่งสินค้าและระบบภาษี
    4. ศึกษาระบบ payment gateway ผ่านทางธนาคาร
    5. กำหนดเป้าหมายของเวบไซด์
    6. กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมายและวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค
    7. กำหนดโครงสร้างไฟล์และโฟลเดอร์ในเวบไซด์
    8. การออกแบบเวบเพจกำหนดรูปแบบ สีสัน และการจัดองค์ประกอบพื้นที่ภายในเวบเพจ
    9. การสร้างเวบเพจและอัพโหลดไฟล์
    10. การดูแล พัฒนาเวบไซด์และโปรโมตเวบไซด์

    สำหรับSME ที่ยังไม่พร้อมที่จะทำE-commerce แบบเต็มรูปแบบ ก็สามารถที่จะใช้เวปเพจ ทางอินเตอร์เน็ต เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ แสดงสินค้า และเป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจ ได้ติดต่อกลับมา เพื่อเจรจากันภายหลังก็ได้ มีหลายกลุ่มหลายบริษัทที่รับออกแบบเวปเพจ ให้คำปรึกษาทางด้านการทำE-commerce และ ระบบการตลาดทางอินเตอร์เน็ต โดยแต่ละที่ก็มีราคาค่าใช้จ่ายต่างกันไป ตั้งแต่ระดับ หลักร้อยบาท จนถึงระดับ หลักหมื่น หลักแสน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของระบบที่ต้องการ เราสามารถให้ผู้ที่เคยใช้อินเตอร์เน็ต ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ที่รับออกแบบเวปเพจได้ ซึ่งจะพบเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

    เทคโนโลยีอินเตอร์เนตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นๆ การนำเทคโนโลยีอินเตอร์เนตมาใช้เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจะสามารถเพิ่มช่องทางทางการตลาดให้กับธุรกิจเหล่านั้นได้ ทำให้มีโอกาสสร้างรายได้มากขึ้นทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ โดยสามารถทำการติดต่อ สั่งซื้อสินค้าผ่านทางหน้าเวบไซด์ของร้านค้าได้เลย นอกจากนี้การพัฒนาของธุรกิจขนากกลางจะทำให้เศรษฐกิจระดับประเทศมีความมั่นคง มีเสถียรภาพมากขึ้น

    ความคิดรวบยอด

    ในการพัฒนาเวบไซด์ร้านค้า (Storefront website) ที่ดีมีขั้นตอนดังนี้
    1. วางแผนเวบไซด์ (Site Planning)
    2. ศึกษาสินค้าจุดอ่อนจุดแข็งรวมทั้งคู่แข่งทางการตลาด
    3. ศึกษาระบบส่งสินค้าและระบบภาษี
    4. ศึกษาระบบ payment gateway ผ่านทางธนาคาร
    5. กำหนดเป้าหมายของเวบไซด์
    6. กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมายและวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค
    7. กำหนดโครงสร้างไฟล์และโฟลเดอร์ในเวบไซด์
    8. การออกแบบเวบเพจกำหนดรูปแบบ สีสัน และการจัดองค์ประกอบพื้นที่ภายในเวบเพจ
    9. การสร้างเวบเพจและอัพโหลดไฟล์
    10. การดูแล พัฒนาเวบไซด์และโปรโมตเวบไซด์

    กรณีศึกษา

    บริษัท สมิทธ์แนเชอรัลจำกัด


    ประเภทของธุรกิจ ส่งออกเครื่องสำอาง บริษัทจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยทำกิจการส่งออกเกี่ยวกับเครื่องสำอางและอาหารเสริม โดยผลิตภัณฑ์จะมีส่วนประกอบจากสารสกัดธรรมชาติ กลุ่มเป้าหมายจะเป็นลูกค้าจากต่างประเทศ 99 % บริษัทจะเน้นการขายส่ง (whole sale) โดยที่ลูกค้าสามารถสั่งสินค้าภายใต้โลโก้สินค้าของลูกค้าเอง กลุ่มลูกค้าในปัจจุบันจะอยู่ในแถบโซนเอเซีย ตะวันออกกลางและอเมริกา ...อ่านภายในเอกสารต่อคะ 

  •   ดาวน์โหลด : การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจ SMEs